Responsive image
เมนูหลัก
หน้าหลัก
เกี่ยวกับตำบล
ประวัติความเป็นมา
สภาพทั่วไป
สภาพสังคม
สภาพทางเศรษฐกิจ
การบริการพื้นฐาน
สินค้า OTOP
สถานที่สำคัญ/แหล่งท่องเที่ยว
เกี่ยวกับเรา
วิสัยทัศน์/พันธกิจ
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
โครงสร้างส่วนราชการ
อำนาจหน้าที่
แผนพัฒนาท้องถิ่น
บุคลากร
คณะผู้บริหาร
สมาชิกสภา
สำนักปลัด
กองคลัง
กองช่าง
กองการศึกษา
กองสวัสดิการสังคม
ข่าวสารตำบล
ข่าวสารประชาสัมพันธ์
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
แผนการจัดซื้อจัดจ้าง
รายงานผลการจัดซื้อจัดจ้าง
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวกิจกรรม
ข่าวรับสมัครโอน/ย้าย
คู่มือการปฏิบัติงาน
มาตรฐานการให้บริการ
ข้อมูลเชิงสถิติ
รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจการให้บริการ
รายงานการประชุมสภา
ข้อบัญญัติตำบล
แผนการดำเนินงาน
รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
แผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี
ร้องเรียนการทุจริต
ร้องเรียนการทุจริต จนท.ของรัฐ
ข่าวสารเครือข่าย
ข่าวประชาสัมพันธ์เครือข่าย
ข่าวกิจกรรมเครือข่าย
สรุปผลการจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครโอน/ย้ายเครือข่าย
สินค้า OTOP เครือข่าย
ระเบียบ
หนังสือสั่งการ สถ.
พรบ./พรก.
กฎระเบียบกระทรวง
คำสั่ง สถ.
มติ ก. อบจ.
มติ ก. เทศบาล
มติ ก. อบต.
รายรับรายจ่าย
ประมวลจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หลักเกณฑ์การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล
มติ ก.อบต.จังหวัดอุดรธานี
ประกาศ ก.อบต.จังหวัดอุดรธานี
เว็บบอร์ด
E-Service (คำร้องซ่อมแซมไฟฟ้าส่องทางสาธารณะ)
ข้อเสนอแนะ ติชม
รับเรื่องราวร้องทุกข์
กระดานถาม-ตอบ ( Q&A )
ติดต่อเรา
ติดต่อเรา
แผนที่ดาวเทียม
คู่มือประชาชน



 

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สภาพเศรษฐกิจ
สภาพทางเศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพ
     แม้ว่าพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่เกษตรกรรม แต่จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนของผู้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมน้อยกว่าอาชีพรับจ้าง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนในตำบลเชียงยืนประกอบอาชีพในการทำอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนในการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ สินค้าจากไม้ จึงทำให้เกิดการจ้างงานในระดับอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ประชาชนส่วนมากมีรายได้เฉลี่ยต่อวันสูง ประกอบกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนมากจะเป็นการปลูกข้าว พืชผัก ซึ่งในรอบปี ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการดูแลมากนักทำให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีเวลาเพียงพอที่จะไปประกอบอาชีพอื่นที่มีรายได้ดีกว่าการทำเกษตรกรรม ดังนั้น จึงพบว่าโครงสร้างการประกอบอาชีพของประชาชนจะมีอาชีพรับจ้าง เป็นหลัก รองลงมาคือ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมขนาดเล็กตามลำดับ โดยงานรับจ้างในลักษณะที่เป็นลูกจ้าง ส่วนใหญ่จะเป็นลูกจ้างรายวันมากกว่าลูกจ้างรายเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ที่แน่นอน ไม่ได้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลหรือสภาพภูมิอากาศเหมือนอาชีพเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม การที่แรงงานส่วนใหญ่ทำงานรับจ้างภายในท้องถิ่น เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ โรงเลื่อย โรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ฯลฯ ประชากรส่วนใหญ่ก็ยังรักษาการทำการเกษตรกรรมไว้ ไม่ได้ทอดทิ้งไป แม้ว่าจะมีอาชีพอื่นที่สร้างรายได้ที่ดีกว่ามาแทน และองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน ได้สนับสนุนงบประมาณให้กับกลุ่มอาชีพต่างๆ ทั้งในด้านเงินทุน ด้านการส่งเสริมการผลิต การตลาด และอื่นๆ เพื่อให้กลุ่มต่างๆ มีความเข้มแข็ง สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ชุมชน ได้เป็นอย่างดี
  
ลักษณะทางเศรษฐกิจชุมชน
     เนื่องจากการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ในเขตพื้นที่เป็นการใช้ที่ดินประเภทเกษตรกรรม ทำให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว และพืชผักตามฤดูกาล ฯลฯ สำหรับการทำนาในพื้นที่เกษตรกรรม สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง นาปีและนาปรัง เกษตรกรสามารถใช้น้ำจากคลองชลประทานที่มีน้ำมาจากห้วยหลวง ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักที่เกษตรกรใช้ทำการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม มีอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรืออุตสาหกรรมในครัวเรือนหลายแห่ง ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากไม้เป็นสินค้าหลักที่ส่งขายตามท้องตลาด แต่ปัจจุบันจะมีต้นทุนในการผลิตสูงเนื่องจากต้องใช้ไม้ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต จำเป็นต้องใช้เวลาและต้นทุนสูงและมีราคาเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ 
  
แหล่งบริการด้านการเงิน
     ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน มีตู้บริการถอนเงินสด จำนวน 3 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารออมสิน ไว้บริการด้านการเงินให้กับประชาชนบริเวณตลาดสดตำบลเชียงยืน
  
การเกษตรกรรม
     ลักษณะการประกอบการเกษตรกรรมในท้องถิ่น เป็นการทำเกษตรตามฤดูกาลเพื่อลดต้นทุนการผลิตและอาศัยประโยชน์จากฤดูกาลดูแลพืชผล เกษตรบางส่วนที่ปลูกพืชหมุนเวียนตลอดปี บางส่วนปล่อยพื้นที่ว่างเปล่าหลังการทำนา เนื่องจากขาดแคลนเงินทุนในการประกอบอาชีพ ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ
     - ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว รองลงมาคือ อ้อย พืชผัก ผลไม้ต่างๆ ยางพารา และอื่นๆ 
     - พื้นที่เพื่อการเกษตรส่วนใหญ่ คือ พื้นที่นา และพื้นที่ไร่
  
มูลค่าผลผลิตทางการเกษตร
     มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรขึ้นอยู่กับพ่อค้าคนกลาง และปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ท้องตลาดตามหลักเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  
อุตสาหกรรม
     อุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตตำบลเชียงยืน คือ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ ซึ่งมีโรงงานจำนวนมากที่สุด อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีงานทำและรายได้ตลอดทั้งปี และมีโรงงานใบเมี่ยงที่ผลิตส่งตลาดจำนวน 1 แห่ง สามารถสร้างรายได้ให้กับแรงงานในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี
     อุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น กลุ่มทำผ้าไหม กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มตีมีด กลุ่มทำเซียมซี กลุ่มเย็บผ้า และกลุ่มอื่นๆ ที่สามารถสร้างผลผลิตออกสู่ท้องตลาดเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวชุมชน สร้างอาชีพในชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจในตำบลเชียงยืน
   

หน่วยธุรกิจ ร้านค้าและบริการในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน
     - โรงงาน
     - โรงสี
     - ร้านขายของชำและร้านขายอาหาร
     - ร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้า
     - ร้านขายวัสดุก่อสร้าง
     - หน่วยบริการทางการเงิน(ตู้เบิกเงินสด)
     - โรงแรม รีสอร์ท
     - อู่ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์
     - ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า
     - ห้องเช่า/บ้านเช่า
     - ร้านตัดผม/เสริมสวย
     - สถานีบริการน้ำมัน (ใหญ่)
     - ปั๊มหลอด
     - ตลาดสดในเขตพื้นที่
11 แห่ง
38 แห่ง
137 แห่ง
1 แห่ง
3 แห่ง
3 แห่ง
5 แห่ง
14 แห่ง
3 แห่ง
13 แห่ง
24 แห่ง
1 แห่ง
13 แห่ง
1 แห่ง
 

สำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงยืน
เลขที่ 232 หมู่ที่ 14 ต.เชียงยืน อ.เมือง จ.อุดรธานี 41000  โทรศัพท์ : 0-4212-5577  โทรสาร : 0-4212-5576
อีเมล์ : 6410103@dla.go.th   facebook: www.facebook.com/chiangyuenudon
Powered By chiangyuen.go.th